ความยั่งยืน

ความยั่งยืน

R&D

ฝ่ายการวิจัยและพัฒนา
  1. การวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

  2. โรงงานผลิต

  3. ศูนย์วิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

บริการด้านเทคนิค

บริการด้านเทคนิค
  1. ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่

  2. การตรวจสอบคุณภาพน้ำ

  3. การให้คำปรึกษาด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์

  4. การสัมมนา

ผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์
  1. ภาพรวมผลิตภัณฑ์

  2. แคตตาล็อกผลิตภัณฑ์

  3. อาหารฟังก์ชั่ั้นประสิทธิภาพ

  4. อาหารฟังก์ชั่น

  5. ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสัตว์

เกี่ยวกับเรา

เกี่ยวกับเรา
  1. เรื่องราวของเรา

  2. ภารกิจและวิสัยทัศน์

  3. การจัดการ

  4. งาน

อีเวนต์และข่าวต่างๆ
สายพันธุ์ปลาดุกในประเทศไทย ที่นิยมเลี้ยง
ปลาดุกอุย หรือ ปลาดุกนา (Broadhead catfish : Clarias macrocephalus)

• ปลาดุกอุยหรือ ปลาดุกนา หรือ ในภาคใต้ เรียกว่า "ปลาดุกเนื้ออ่อน"
• เป็นปลาที่มีรสชาติดี อร่อย เนื้อไม่เละ
• เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีมาก แต่มีอัตราการเจริญเติบโตและน้ำหนักตัวที่น้อย

ปลาดุกเทศหรือ ปลาดุกรัสเซีย (Clarias gariepinus)

• ปลาดุกเทศหรือ ปลาดุกรัสเซีย เป็นปลาที่ขนาดใหญ่สุดในสกุล Clarias ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.70 เมตร
• เป็นปลาพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา พบได้ในตอนเหนือและตอนตะวันออกของทวีปสำหรับในประเทศไทยได้ถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2528 โดยเอกชนบางราย
• เป็นปลาที่มีอัตราการเจริยเติบโตที่สูง แต่มีรสชาติของเนื้อที่ไม่ค่อยอร่อและรับความนิยมเท่าไรเนื่องจากมีขนาดใหญ่ และมีเนื้อสีขาวที่เละ

ปลาดุกบิ๊กอุย ( C. macrocephalus x C. gariepinus )

•ปลาดุกบิ้กอุย กรมประมงได้นำมาทดลองผสมข้ามพันธุ์กับปลาดุกอุย
• ปลาดุกบิ้กอุย เป็นปลา ลูกผสม ระหว่างพ่อพันธุ์ “ปลาดุกเทศ” กับแม่พันธุ์ “ปลาดุกอุย”
• พบว่าปลาดุกลูกผสมมีผลการรอดสูง และมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด เนื้อมีรสชาติที่ดีขึ้น จึงส่งเสริมและแพร่วิธีการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงดูสู่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง จนปัจจุบันนี้ กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่งของไทย
• เป็นปลาที่สามารถเลี้ยงในสภาวะการเลี้ยงที่มีความหนาแน่นสูงทนต่อสภาวะคุณภาพน้ำต่ำ
• และเป็นปลาที่มีเนื้อรสชาติดีมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว

ปลาดุกด้าน (Clarias batrachus)

• ปลาดุกด้าน ขนาดเมื่อโตเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 50 เซนติเมตร
• นอกจากจะมีการเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจแล้วปลาดุกยังถูกพัฒนาขึ้นเป็นปลาสวยงามที่มีสีสันและลวดลายแตกต่างไปจากเดิมโดยเฉพาะปลาที่มีลักษณะของสีเผือกและปลาต่างซึ่งเป็นที่ต้องการในกลุ่มนักเลี้ยงปลาแปลกอย่างมาก

ปลาดุกลำพัน (Slender walking catfish : Clarias nieuhofii)

• สีของลำตัวค่อนข้างดำ และ ลักษณะสีของลำตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุ ขนาด และสภาพแวดล้อม ตัวโตเต็มวัยจะมีลำตัวสีเข้ม แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในบ่อจะมีสีน้ำตาลเหลือง ข้างลำตัวมีจุดสีขาวเรียงเป็นแถวตามขวางประมาณ 13 - 20 แถว ยกเว้นบริเวณท้อง
• เป็นปลาที่มักจะพบ ในเขตบริเวณป่าพรุ
• เนื้อปลามีรสชาติอร่อยและหวาน
• และจากการสำรวจพบว่าปลาดุกลำพันในธรรมชาติมีแนวโน้มลดลง